วิธีกำจัดอาการสะอึก
1. อะไรเอ่ย? ไม่เคยตั้งใจให้มา มาทีก็นานกว่าจะหาย บางทีถึงขั้นหงุดหงิดรำคาญใจทำอะไรไม่ได้ หลายคนคงเคยประสบปัญหาการสะอึก ที่บางครั้งมาในช่วงเวลาที่ไม่ควรเช่น กำลังอยู่ในที่ประชุม หรือคุยงานสำคัญ หรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ไควรจะเกิด พอคิดละมันน่าหงุดหงิดสะกอดหัวใจให้โมโห แต่อย่าได้กลัวไป วันนี้เรามาทราบวิธีกำจัดอาการสะอึก ที่เราได้รวบรวมมาบอกคุณให้หายวิตก เมื่ออาการนี้กลับมา
2. มารู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการสะอึก
ก่อนจะมาทราบวิธีกำจัดอาการสะอึก ของอย่างมีมันต้องมีสาเหตุ ใครที่ทำอะไรเข้าข่ายจะได้ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่น่ารำคาญนี้ได้
อาการสะอึก เกิดจากภาวะของการหดตัวอย่างฉับพลันบริเวณกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ระหว่างช่องอกและช่องท้อง โดยเหตุที่เกิดการการหดตัว ส่งผลให้เกิดการหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันอากาศที่เข้ามานั้นถูกกักโดยเส้นเสียงที่จะปิดลงทันทีทันใด จากการหดตัวของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ทำให้มีเสียงสะอึกตามให้เราได้หงุดหงิดรำคาญใจ อาจจะเกิดในแบบระยะสั้น ๆ แล้วหายไป หรือบางรายต่อเนื่องนานกว่า 48 ชั่วโมง ต้นตออาจจะมาจากการสูบบุหรี่มากเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์แบบหนักหน่วง รับประทานอาหารอย่างรวดเร็วไม่เคี้ยวให้ละเอียด หรือกินเผ็ด อาการท้องอืดก็มีส่วน ทั้งยังเกิดได้จากภาวะอารมณ์อย่าง ตื่นเต้น ตกใจ กลัว หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วทำให้ร่างกายปรับตัวกะทันหัน
3. วิธีกำจัดอาการสะอึก 5 วิธีที่น่าลอง และไม่ส่งผลต่อร่างกาย
สำหรับใครที่สะอึกบ่อยๆ วันนี้เราหาวิธีที่ปลอดภัยและทำได้ง่าย ที่สำคัญไม่ส่งผลกระทบกับร่างกายมาฝากกัน
4. จิบน้ำเย็นจัดหนึ่งแก้วใหญ่หรือกลั้วคอด้วยน้ำเย็น วิธีนี้จะช่วยให้เราหายใจได้มากจากการดื่มน้ำเย็นแก้วโต ๆ และน้ำยังช่วยให้กล้ามเนื้อปริเวณเส้นเสียงที่ปิดกันลดหายใจได้เปิดออกและได้รับการผ่อนคลาย แต่ค่อย ๆ ดื่มและกลั้นลมหายใจหลังสะดึกดี ๆ เพื่อไม่ให้สำลักกันนะจ๊ะ
5. กลั้นหายใจในระยะเวลาสั้น ๆ โดยนับหนึ่งถึงสิบแบบช้า ๆ วิธีนี้ก็คล้ายกับวิธีแรกคือ หลังจากกลั้นหายใจ เราจะสูดลมหายใจได้เต็มปอดมากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการสะดึกได้
6. กินอาหารรสเปรี้ยวจัด หวานจัด อย่างมะนาวฝาน หรือ น้ำตาลก้อน วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ประสาทสัมผัสมีการตื่นตัว จากรสชาติอาหาร โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ
7. ชวนเพื่อนมาทำให้เกิดอาการตกใจ เมื่อเกิดอาการตกใจร่างกายจะสูดลมหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว และกล้ามเนื้อมีอาการยืดเหยียดจากการสะดุ้งอย่างรวดเร็ว
8. ดม หรือ ทำให้เกิดอาการจาม วิธีนี้ทำให้เราสูดลมหายใจเข้าลึกสุด ๆ และการจามช่วยให้กระบังลมและหลอดลมกล้ามเนื้อได้รับการบริหาร
9. หากทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วยังไม่หาย และสะอึกต่อเนื่องจนเกิน 48 ชั่วโมง คงต้องพบแพทย์เพื่อกินยาและทำการรักษาหาสาเหตุ อย่างที่บอกทุกอาการมีที่มาที่ไป และการสะอึกนานเกินไปก็เหมือนร่างกายส่งสัญญาณเตือนบางอย่างที่เราควรตรวจให้แน่ชัดเพื่อความปลอดภัย